วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ดาวหางฮาร์ตลีย์ (103P/Hartley)



 
ปีนี้ดาวหางฮาร์ตลีย์จะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในวันที่ 28 ตุลาคม 2553 วงโคจรในขณะนั้นมีจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด (perihelion) อยู่ห่าง 1.059 หน่วยดาราศาสตร์ จุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุด (aphelion) อยู่ห่าง 5.886 หน่วยดาราศาสตร์ ไกลกว่าวงโคจรของดาวพฤหัสบดีเล็กน้อย คาบการโคจรยาวนาน 6.47 ปี  ปีนี้เป็นปีที่ดีที่สุดสำหรับการสังเกตดาวหางดวงนี้นับตั้งแต่มันถูกค้นพบ ข้อมูลจากนาซาระบุว่าดาวหางฮาร์ตลีย์จะเข้าใกล้โลกที่สุดในวันที่ 20 ตุลาคม 2553 เวลา 17:26 น. ตามเวลาสากล (ช้ากว่าเวลาประเทศไทย 7 ชั่วโมง) ด้วยระยะห่างเพียง 0.1209 หน่วยดาราศาสตร์ หรือประมาณ 47 เท่าของระยะทางเฉลี่ยระหว่างโลกกับดวงจันทร์จากวงโคจรและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงความสว่างของดาวหางฮาร์ตลีย์ซึ่งขึ้นอยู่กับระยะห่างของดาวหางจากโลกและดวงอาทิตย์ ข้อมูลจากสหพันธ์ดาราศาสตร์สากลคาดหมายว่าดาวหางฮาร์ตลีย์จะสว่างที่สุดในปลายเดือนตุลาคมด้วยโชติมาตร 4.4 แต่ค่านี้อาจคลาดเคลื่อนได้ เนื่องจากดาวหางมีรูปแบบการเปลี่ยนแปลงความสว่างที่ไม่สามารถคาดหมายอย่างแม่นยำได้ ช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม 2553 ดาวหางฮาร์ตลีย์มีความสว่างจางกว่าที่คาดไว้มากถึง 2-3 โชติมาตร อย่างไรก็ตาม ต้นเดือนตุลาคม ดาวหางฮาร์ตลีย์ได้กลับมาสว่างเกือบใกล้เคียงกับที่คาดไว้แล้ว




       ดาวหางเป็นวัตถุขนาดเล็ก รูปร่างไม่แน่นอน นิวเคลียสหรือใจกลางดาวหางโดยทั่วไปมีขนาดเล็กกว่า 10 กิโลเมตร ประกอบด้วยน้ำแข็ง คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน และแอมโมเนีย ปะปนอยู่กับฝุ่นและหิน ขณะที่ดาวหางอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มันจะมีปฏิกิริยาเพียงเล็กน้อยและจางมาก แสงส่วนใหญ่ที่สังเกตได้เกิดจากการสะท้อนแสงอาทิตย์ เมื่อดาวหางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ภายในระยะ 5 หน่วยดาราศาสตร์ รังสีความร้อนจะทำให้น้ำแข็งระเหิด นำพาฝุ่น แก๊ส และโมเลกุลต่าง ๆ พุ่งออกมา เกิดเป็นหัวดาวหางหรือโคม่า (coma) มีลักษณะเป็นทรงกลมล้อมรอบนิวเคลียส ฝุ่นและแก๊สเหล่านี้พุ่งออกมาจากพื้นผิวด้านที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์ จากนั้นลมสุริยะจะทำให้เกิดหาง โดยทั่วไปสามารถแบ่งได้เป็น 2 หาง คือหางแก๊สหรือหางพลาสมา หางอีกชนิดคือหางฝุ่น
      หางแก๊สประกอบด้วยอนุภาคมีประจุไฟฟ้า มันได้รับอิทธิพลจากสนามแม่เหล็กในลมสุริยะ จึงพุ่งไปตรง ๆ ในทิศทางตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ หางฝุ่นสะท้อนแสงอาทิตย์จึงมีสีเหลือง แรงที่ผลักหางฝุ่นคือแรงดันจากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ หางฝุ่นมักทอดยาวเป็นแนวโค้ง แผ่กว้างและแบน ฝุ่นที่ถูกทิ้งไว้ในอวกาศเรียกว่าสะเก็ดดาว ซึ่งหากแนวการเคลื่อนที่ของมันผ่านใกล้วงโคจรโลกจะทำให้เกิดฝนดาวตก
ดาวหาง 103 พี/ฮาร์ตลีย์ (103P/Hartley) หรือชื่อเดิมฮาร์ตลีย์ 2 (Hartley 2) ซึ่งต่อไปนี้จะขอเรียกว่าดาวหางฮาร์ตลีย์ กำลังจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์และใกล้โลกที่สุดในเดือนตุลาคม 2553 คาดว่าสามารถสังเกตการณ์ได้ด้วยกล้องสองตาและกล้องโทรทรรศน์
       มัลคอล์ม ฮาร์ตลีย์ (Malcolm Hartley) ค้นพบดาวหางฮาร์ตลีย์เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2529 จากภาพถ่ายที่หอดูดาวไซดิงสปริง ประเทศออสเตรเลีย นับเป็นเวลา 9 เดือน หลังจากดาวหางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในปี 2528 ดาวหางดวงนี้เป็นดาวหางรายคาบ (คาบการโคจรต่ำกว่า 200 ปี) ปี 2528 ดาวหางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดด้วยระยะห่าง 0.952 หน่วยดาราศาสตร์ ซึ่งใกล้กว่าวงโคจรโลก แต่หลังจากที่ดาวหางผ่านใกล้ดาวพฤหัสบดีในช่วงปลายปี 2536 ถึงต้นปี 2537 (ใกล้ที่สุดวันที่ 19 ธันวาคม 2536 ห่าง 0.374 หน่วยดาราศาสตร์) อิทธิพลแรงโน้มถ่วงจากดาวเคราะห์ยักษ์ทำให้จุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดของดาวหางฮาร์ตลีย์ในปี 2540 ขยับออกไปอยู่นอกวงโคจรโลกที่ระยะ 1.032 หน่วยดาราศาสตร์




เอื้อเฟื้อข้อมูล : NASA ;Hubble Probes Comet 103P/Hartley 2
                       : สมาคมดาราศาสตร์แห่งประเทศไทย







วันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ท้องฟ้าเดือนตุลา ;

         เวลาประมาณ 3 ทุ่ม ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์สว่างดวงเดียวที่มองเห็นได้ชัดเจนด้วยตาเปล่า
สามเหลี่ยมฤดูร้อนอยู่สูงเด่นเหนือท้องฟ้าทิศตะวันตกเฉียงใต้ ดาวหางหงส์ซึ่งอยู่ทางขวามือสุดเมื่อมองจากฟ้าจริง เป็นดาวสว่างที่อยู่ห่างไกลจากโลกมากดวงหนึ่ง ข้อมูลจากดาวเทียมฮิปพาร์คอสระบุว่าอยู่ห่าง 3,200 ปีแสง แสดงว่ามันแผ่พลังงานออกมาอย่างมหาศาล ถัดมาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือจะเห็นกลุ่มดาวแคสซิโอเปียเป็นรูปคล้ายตัวเอ็มขาถ่าง กระจุกดาวลูกไก่ลอยเหนือขอบฟ้าทิศตะวันออกด้วยมุมเงยประมาณ 15 องศา ดวงจันทร์จะมาอยู่ใกล้ค่ำวันที่ 25 ตุลาคม แต่อาจสังเกตได้ยากเนื่องจากดวงจันทร์สว่างมาก
         เวลาประมาณตี 4 ดาวพฤหัสบดีใกล้ตกลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตก กลับหลังหันจะเห็นกลุ่มดาวสิงโตขึ้นมาอยู่เหนือขอบฟ้าทิศตะวันออก กลุ่มดาวแคสซิโอเปียเคลื่อนไปอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ กลุ่มดาวหมีใหญ่ซึ่งอยู่เกือบตรงข้ามกันจึงเริ่มปรากฏทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ท้องฟ้าด้านทิศใต้มีดาวสว่างมาก เช่น ดาวซิริอัส ดาวคาโนปัส และดาวอะเคอร์นาร์ กลุ่มดาวนายพรานอยู่เหนือศีรษะ มองเห็นเนบิวลาสว่างใหญ่เป็นดวงฝ้าชัดเจนบริเวณใต้เข็มขัดของนายพราน ทางใต้ของกลุ่มดาวนายพรานมีกลุ่มดาวขนาดเล็กชื่อกลุ่มดาวกระต่ายป่า เป็นกลุ่มดาวเก่าแก่หนึ่งในบรรดากลุ่มดาว 48 กลุ่มของทอเลมีซึ่งเป็นนักดาราศาสตร์ นักภูมิศาสตร์ และนักคณิตศาสตร์ชาวกรีกที่มีชีวิตอยู่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 2 นอกจากดาวฤกษ์และวัตถุท้องฟ้าอื่น ๆ แผนที่ 2 แผ่นนี้ยังแสดงตำแหน่งของดาวหางฮาร์ตลีย์ที่คาดว่าจะสามารถสังเกตได้ด้วยกล้องสองตาและกล้องโทรทรรศน์ตลอดเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน 2553









เอื้อเฟื้อข้อมูล : สมาคมดาราศาสตร์แห่งประเทศไทย
                                      :  แผนที่ท้องฟ้านี้ตีพิมพ์ในวารสารทางช้างเผือก




หนาวนี้จูงมือกันมาดูดาวนะจ๊ะ :D

วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

ดวงจันทร์เดือนนี้

ค่ำคืนนี้ลองมองไปที่ซีกฟ้าทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ดูสิ่คะจะเห็นว่าเเสงของดาวศุกร์ชัด
เเละสวยมากถึงคืนนี้ฟ้าจะมีเมฆมากเเต่ใช้เวลารอดูสักนิดก็คงได้เห็นอยู่  เป็นภาพดาวศุกร์กับดวงจันทร์ จะเป็นลักษณะไหนต้องลองดูล่ะค่ะ :D
            
              ค่ำวันเสาร์ที่ 11 กันยายน ดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวศุกร์ด้วยระยะห่างเพียง 1 องศา พร้อมกับมีดาวอังคารอยู่ห่างไปทางขวามือ วันนั้นผู้สังเกตบนเกาะและหมู่เกาะเล็ก ๆ ทางตอนใต้ของมหาสมุทรอินเดียมีโอกาสเห็นดวงจันทร์บังดาวศุกร์บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำ วันที่ 14 กันยายน ดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวแอนทาเรสในกลุ่มดาวแมงป่อง ดวงจันทร์ทำมุมฉากทำให้สว่างครึ่งดวงในวันที่ 15 กันยายน ดวงจันทร์มีส่วนสว่างเพิ่มขึ้นจนสว่างเต็มดวงในวันที่ 23 กันยายน เช้ามืดวันนั้น
ดวงจันทร์จะอยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดี วันที่ 28 กันยายน ดวงจันทร์ผ่านใกล้กระจุกดาวลูกไก่อีกครั้งด้วยระยะห่าง 5 องศา
              ช่วงแรกของเดือนเป็นครึ่งหลังของข้างแรม ดวงจันทร์อยู่ใกล้กระจุกดาวลูกไก่ในเช้ามืดวันที่ 1 กันยายน วันถัดไปดวงจันทร์สว่างครึ่งดวง จากนั้นกลายเป็นเสี้ยวพร้อมกับเคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น วันที่ 7 กันยายน เป็นวันสุดท้ายที่จะเห็นดวงจันทร์ในเวลาเช้ามืด หลังจันทร์ดับในวันที่ 8 กันยายน ซึ่งเดือนนี้ตรงกับช่วงที่ดวงจันทร์จะอยู่ใกล้โลกที่สุดในรอบเดือน ตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน จะเริ่มเห็นดวงจันทร์เป็นเสี้ยวบาง ๆ เหนือขอบฟ้าทิศตะวันตก วันนั้นดวงจันทร์มีตำแหน่งอยู่ทางซ้ายมือของดาวเสาร์ซึ่งกำลังจะตก และต่ำกว่าดาวศุกร์กับดาวอังคาร


บทความ: สมาคมดาราศาสตร์ไทย โดย : วรเชษฐ์ บุญปลอด

-----Fern Suchada----


ปล.10-12 กันยายนนี้

"ดวงจันทร์จะใกล้ดาวศุกร์ ดาวอังคารเเละดาวรวงข้าวหลังพระอาทิตย์ตก45นาที"
ภาพจำลองดาวเคราะห์ แสดงให้เห็นส่วนสว่างของดาวเคราะห์และขนาดปรากฏเปรียบเทียบ
(ดัดแปลงจาก Solar System Simulator/NASA)



ปรากฏการณ์ท้องฟ้า

ขอขอบคุณ :http://thaiastro.nectec.or.th/

วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

Astronomy Picture of the Day



Discover the cosmos! Each day a different image or photograph of our fascinating universe is featured, along with a brief explanation written by a professional astronomer.
2010 September 10





Vela Supernova Remnant

Credit & Copyright: Marco Lorenzi (Star Echoes)
Explanation: The plane of our Milky Way Galaxy runs through this complex and beautiful skyscape. At the northwestern edge of the constellation Vela (the Sails) the four frame mosaic is over 10 degrees wide, centered on the glowing filaments of the Vela Supernova Remnant, the expanding debris cloud from the death explosion of a massive star. Light from the supernova explosion that created the Vela remnant reached Earth about 11,000 years ago. In addition to the shocked filaments of glowing gas, the cosmic catastrophe also left behind an incredibly dense, rotating stellar core, the Vela Pulsar. Some 800 light-years distant, the Vela remnant is likely embedded in a larger and older supernova remnant, the Gum Nebula.


Take a short survey about viewing astronomy images on mobile devices.

Tomorrow's picture: light-weekend


Thanks : http://antwrp.gsfc.nasa.gov/apod/ ( Great source )










How small is Earth ??

http://www.youtube.com/watch?v=7NYRVsKAkFM&feature=related

share : YouTube.com 

ชมรมดาราศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย





ชมรมดาราศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย






ความเป็นมาของหอดูดาวมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

หอดูดาวฯก่อตั้งเพื่อเป็นแหล่งถ่ายทอดวิชาความรู้ด้านดาราศาสตร์และเป็นศูนย์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องระบบสุริยะจักรวาล โดยใช้อุปกรณ์อันทันสมัยและเพียบพร้อมในการให้ความรู้เกี่ยวกับดวงดาวต่างๆมากมายโดยได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

หอดูดาว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ตั้งอยู่ที่เส้นแวงที่ E 99.59 663 9 ตะวันออก เส้นรุ้งที่ N 19.59 524 เหนือ ก่อสร้างโดยงบประมาณแผ่นดิน ปี พ.ศ.2548งบประมาณในการสร้าง 6,000,000 บาทเริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2548 แล้วเสร็จเมื่อวันที่  7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2549ลักษณะตัวอาคารจะเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก 3ชั้น พร้อม Sky Dome มีพื้นที่ใช้สอยทั้งหมด 600 ตารางเมตร


การบริการวิชาการต่อชุมชน



1.การจัดค่ายดาราศาสตร์ทั้งระดับท้องถิ่น



2.เปิดหอดูดาวและบรรยายความรู้ทางดาราศาสตร์ ให้แก่นักเรียนนักศึกษา สถาบันการศึกษาต่างๆ  หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน สื่อมวลชนและประชาชนทั่วไปที่สนใจ


3.บรรยายและถ่ายทอดความรู้ทางดาราศาสตร์สู่ ชุมชนโดยผ่านสื่อมวลชนในจังหวัดเชียงราย และ จังหวัดพะเยา


การวิจัย ณ.หอดูดาวมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย


1.สนับสนุนให้เกิดโครงการของคณาจารย์ทางด้านดาราศาสตร์



2.สนับสนุนงานวิจัยที่เป็นส่วนหนึ่งของงานวิทยานิพนธ์หรืองานค้นคว้าแบบอิสระของ
นักศึกษา


  
ภาพ  : หอดูดาวมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
ภาพ  : หอดูดาว








ภาพ : Sky Dome





ภาพ : Sky Dome อีกภาพค่ะ






ภาพ : กล้องตัวนี้ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีที่เชียงรายนะคะ
(เชียงรายเเละเชียงใหม่)


ภาพ : ดวงจันทร์ (มองหากระต่ายให้เจอนะคะ)



พอจะรู้จักหอดูดาวมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายไปส่วนหนึ่งเเล้วนะคะ
เอาไว้ครั้งหน้าเเละต่อๆไป จะนำภาพกิจกรรมเเละภาพถ่ายของดวงดาวมาฝากนะคะ

:D

By : Fern suchada CRU Astronomy Club