เเละสวยมากถึงคืนนี้ฟ้าจะมีเมฆมากเเต่ใช้เวลารอดูสักนิดก็คงได้เห็นอยู่ เป็นภาพดาวศุกร์กับดวงจันทร์ จะเป็นลักษณะไหนต้องลองดูล่ะค่ะ :D
ค่ำวันเสาร์ที่ 11 กันยายน ดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวศุกร์ด้วยระยะห่างเพียง 1 องศา พร้อมกับมีดาวอังคารอยู่ห่างไปทางขวามือ วันนั้นผู้สังเกตบนเกาะและหมู่เกาะเล็ก ๆ ทางตอนใต้ของมหาสมุทรอินเดียมีโอกาสเห็นดวงจันทร์บังดาวศุกร์บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำ วันที่ 14 กันยายน ดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวแอนทาเรสในกลุ่มดาวแมงป่อง ดวงจันทร์ทำมุมฉากทำให้สว่างครึ่งดวงในวันที่ 15 กันยายน ดวงจันทร์มีส่วนสว่างเพิ่มขึ้นจนสว่างเต็มดวงในวันที่ 23 กันยายน เช้ามืดวันนั้น
ดวงจันทร์จะอยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดี วันที่ 28 กันยายน ดวงจันทร์ผ่านใกล้กระจุกดาวลูกไก่อีกครั้งด้วยระยะห่าง 5 องศา
ช่วงแรกของเดือนเป็นครึ่งหลังของข้างแรม ดวงจันทร์อยู่ใกล้กระจุกดาวลูกไก่ในเช้ามืดวันที่ 1 กันยายน วันถัดไปดวงจันทร์สว่างครึ่งดวง จากนั้นกลายเป็นเสี้ยวพร้อมกับเคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น วันที่ 7 กันยายน เป็นวันสุดท้ายที่จะเห็นดวงจันทร์ในเวลาเช้ามืด หลังจันทร์ดับในวันที่ 8 กันยายน ซึ่งเดือนนี้ตรงกับช่วงที่ดวงจันทร์จะอยู่ใกล้โลกที่สุดในรอบเดือน ตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน จะเริ่มเห็นดวงจันทร์เป็นเสี้ยวบาง ๆ เหนือขอบฟ้าทิศตะวันตก วันนั้นดวงจันทร์มีตำแหน่งอยู่ทางซ้ายมือของดาวเสาร์ซึ่งกำลังจะตก และต่ำกว่าดาวศุกร์กับดาวอังคาร
บทความ: สมาคมดาราศาสตร์ไทย โดย : วรเชษฐ์ บุญปลอด
-----Fern Suchada----
ปล.10-12 กันยายนนี้
"ดวงจันทร์จะใกล้ดาวศุกร์ ดาวอังคารเเละดาวรวงข้าวหลังพระอาทิตย์ตก45นาที"
ภาพจำลองดาวเคราะห์ แสดงให้เห็นส่วนสว่างของดาวเคราะห์และขนาดปรากฏเปรียบเทียบ
(ดัดแปลงจาก Solar System Simulator/NASA)
ปรากฏการณ์ท้องฟ้า
ขอขอบคุณ :http://thaiastro.nectec.or.th/
ชมรมดาราศาสตร์ดีมีวิทยากรให้คำบรรยายและสอนดูดาวด้วย
ตอบลบมาเข้าค่ายที่ชมรมดาราศาสตร์เรามีสตาฟพร้อมดูแลค่ะสนใจติดต่อที่ชมรมดาราศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายได้ค่ะ
ตอบลบ